วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทละครพูด"เห็นแก่ลูก"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถยอดเยี่ยมทางอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้มากกว่า ๑,๒๐๐ เรื่อง ทั้งร้อยแก้และร้อยกรอง ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี งานประพันธ์ประเภทหนึ่งที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากคือบทละครพูด มีทั้งที่ทรงผูกเค้าโครงเรื่องเองและที่แปลหรือแปลงมาจากภาษาต่างประเทศ บทละครพูด ละครพูด คือละครที่แสดงโดยให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง ไม่มีดนตรี การรำ หรือการับร้องประสม ละครประเภทนี้ตรงกับการแสดงที่เรียกว่า play ของตะวันตก เริ่มมีในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับคามนิยมแพร่หลายและเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดการละครเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษก็ได้เสด็จทอดพระเนตรละครและทรงแสดงละครเป็นประจำ เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยได้ทรงตั้งคณะละครขึ้น ทรงอำนวยการฝึกซ้อม และบางครั้งทรงร่วมแสดงด้วย บทละครพระราชนิพนธ์ซึ่งมีเป็นจำนวนมากนั้น นอกจากจะมุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้งยังแฝงแง่คิดและคติธรรมไว้เสมอ ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ละครเป็นเครื่องอบรมจิตใจของประชาชนและสื่อสาระที่พระองค์มีพระราชประสงค์โดยทรงจัดการแสดงละครขึ้นเป็นประจำเพื่อระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการกุศลด้านต่าง ๆ และเพื่อสร้างสาธารณสมบัติ บทละครพูดนอกจากจะแต่งขึ้นเพื่อใช้แสดงแล้ว ยังใช้อ่านได้ด้วย การอ่านบทละครพูดให้เข้าใจลึกซึ้งนั้น ต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณา เนื่องจากในบทละครพูดไม่มีการบรรยายเหตุการณ์ สถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครไว้เหมือนอย่างในบทละครรำ ผู้อ่านจะต้องพิจารณาด้วยวิจารณญาณและจินตนาการว่า ที่ตัวละครแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น พูดเช่นนั้น เขาคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร บทสนทนาของตัวละครจึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะไขไปสูความหมายของเรื่อง บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีความยาวเพียงองค์เดียว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระนามแฝงในการพระราชนิพนธ์ว่า พระขรรค์เพชร บทละครพูดเรื่องนี้พระองค์ทรงคิดเค้าโครงเรื่องขึ้นเอง มิได้ทรงแปลหรือดัดแปลงจากบทละครต่างประเทศ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ค้นคว้าเกี่ยวกับงานละครของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างละเอียด ได้สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกอาจเป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยมิใช่เป็นการแปล แม้บทละครเรื่องนี้จะแต่งขึ้นมากว่า ๙๐ ปีแล้ว ความนิยมบางอย่างในสมัยนั้นอาจหมดไป วิธีใช้คำพูดตลอดจนกิริยามารยาทบางอย่างอาจเปลี่ยนไป ถึงกระนั้นก็ดีคามรักอันยิ่งใหญ่ของบุพการีที่มีต่อบุตรของตนอันเป็นคุณธรรมที่สำคัญที่แสดงไว้ในเรื่องรวมไปถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและความรักในศักดิ์ศรี ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกผู้ทุกนามทุกชาติทุกภาษาและทุกยุคทุกสมัย บทละครพูดเรื่องนี้นอกจากจะได้รับคัดเลือกให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ศึกษามาเป็นเวลายาวนานแล้ว ยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศได้แก่ ภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น นอร์เวย์ ฝรั่งเศส มาเลย์ รัสเซีย สเปน สิงหล อังกฤษ อาหรับ อินโดนีเซีย และฮินดี เพื่อเป็นการเฉลิดพระเกียรติในงานพระราชพิธีฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็กพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย ความ “เห็นแก่ลูก” ของนายล้ำ เมื่อเริ่มเรื่อง ผู้อ่านได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับนาล้ำเพียงว่าเป็นผู้ดื่มเหล้าจัด และแลดูแกกว่าวัย บทสนทนาระห่างนายล้ำและอ้ายคำ บ่าองระยาภักดี เริ่มเผยให้เราเห็นว่า นอกจากเครื่องแต่งกายที่ดูเก่าปอนแล้ว นายล้ำคงมีท่าทางไม่น่าไว้ใจ ทำให้อ้ายคำยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วย แม้นายล้ำจะกล่าวว่าตนก็มาจากตระกูลดีเช่นกันก็ตาม เมื่อพระยาภักดีกลับมาถึงบ้าน นายล้ำได้เล่าอดีตของตนให้ฟัง นอจากผู้อ่านจะได้ทราบว่านายล้ำไปต้องโทษจำคุกถึง ๑๐ ปี เมื่อพ้นโทษแล้วก็คงประพฤติหากินทางทุจริตเช่นเดิม เรายังได้ทราบว่านายล้ำเคยเป็น “ผู้ดี” จริง และเคยรับราชการจนมีราชทินนามว่า “ทิพเดชะ” เป็นที่น่าสังเกตว่าาแม้นายล้ำและพระยาภักดีจะเคยเป็นเพื่อนรักกันมาก่อน แต่พระยาภักดีก็มิได้แสดงอาการดีอกดีใจเมื่อได้มาพบกันอีกหลังจากไม่พบกันมานานถึง ๑๕ ปี และเมื่อนายล้ำแสดงความประสงค์อยากพบแม่ลออ พระยาภักดีก็ได้แสดงออกอย่างเปิดเผย่าไม่ต้องการให้พบ ด้ยเหตุผลที่ปรากฏในคำถามของพระยาภักดีว่า “ตั้งแต่แกพ้นโทษมาแล้ว แกได้พยายามที่จะสำแดงให้ปรากฏอย่างไรบ้าง ว่าแกน่ะตั้งใจจะประพฤติแต่ในทางที่ดีที่ควร” ความขัดแย้งระหว่างนายล้ำกับพระยาภักดีรุนแรงมากขึ้นเมื่อนายล้ำบอกความประสงค์ว่าต้องการมาอยู่กับแม่ลออบุตรสาวหลังจากได้ทราบว่าแม่ลออจะแต่งงานกับบุตรพระยารณชิตซึ่งเป็นคนมั่งมี นายล้ำเห็นว่า “เป็นหน้าทีจะต้องมาอยู่ใกล้ชิดลูกสาวผมเพื่อจะได้ช่วยเหลือเจือจานในธุระต่าง ๆ ตามเวลาอันสมควร ” และ “เมื่อยังอยู่ในบ้านคุณ ผมก็วางใจได้ นี้จะแยกไปมีเหย้ามีเรือนของตัวเองแล้ว ผมจะต้องเข้ามาอยู่กับเขาเพื่อจะได้เป็นกำลังแก่เขาบ้าง” คำอธิบายของนายล้ำดูเหมือนจะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่านายล้ำเป็นผู้ที่ “เห็นแก่ลูก” อย่างยิ่ง แต่ไม่ช้า นายล้ำก็ยอมรับกับพระยาภักดีอย่างตรงไปตรงมาว่า “ผมนะมันหมดทางหากินแล้ ไม่และเห็นทางอื่นนอกจากที่จะอาศัยลูกสาให้เขาเลี้ยง ” ความ “เห็นแก่ตัว” ของนายล้ำได้เปลี่ยนไปเป็นความ “เห็นแก่ลูก” เมื่อนายล้ำได้พบกับแม่ลออและได้รับรู้ความรู้สึกของแม่ลออที่มีต่อตนในฐานะผู้ให้กำเนิด การที่แม่ลออแสดงความรักและภาคภูมิใจในตัวบิดาแท้ ๆ แม้จะไม่เคยได้พบตัวจริง ทำให้นายล้ำผู้ฝักใฝ่ในทางทุจริตและมีความเห็นแกตัวอย่างยิ่ง เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและยอมพ่ายแพ้แก่ความรักของแม่ลออ ทั้งยังมอบความรักของพ่อตอบแทนกลับไปโดยการไม่เปิดเผยความจริงว่าตนคือใคร ยอมมีชีวิตที่ลำบากต่อไปด้วยความ “เห็นแกลูก” อย่างแท้จริง เพื่อให้แม่ลออได้มีชีวิตที่สุขสบาย ไม่เป็นที่รังเกียจในสังคม ความ “เห็นแก่ลูก” ของพระยาภักดีนฤนาถ บทสนทนาระหว่างนายล้ำกับพระยาภักดีบอกให้เราทราบว่า บุคคลทั้งสองมิเพียงเคยเป็นเพื่อนกันเท่านั้น แต่ยังเคยรักผู้หญิงคนเดียวกันอีกด้วย หญิงนั้นคือแม่นวล มารดาของแม่ลออ ชีวิตแต่งงานอันปราศจากความสุขทำให้แม่นวลตัดสินใจฝากลูกสาไว้กับพระยาภักดีเมื่อตนใกล้จะสิ้นชิวิต ความผูกพันระหว่างพระยาภักดีกับแม่นวลคงจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระยาภักดีรักแม่ลออเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ และได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความตั้งใจ นอกจากจะเลี้ยงดูอบรมแม่ลอออย่างดีตามแบบบุตรผู้มีตระกูล พระยาภักดียังปลูกฝังให้ลูกมีความรักและภาคภูมิในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอีกด้วย ก็คุณพ่อดิฉันที่ตายล่ะคะ รู้จักไหม ?(นายล้ำพยักหน้า.) ถ้าอย่างงั้นคุณก็ดีก่าดิฉัน ดิฉันไม่รู้จักเลย, เคยเห็นแต่รูปที่ ในห้องคุณแม่ รูปร่างสูง ๆ หน้าอกกว้าง ดิฉันช่างชอบหน้า เสียจริงๆ หน้าตาเป็นคนซื่อ ใจคอกว้างขวาง, ถ้าใครบอกดิฉันว่า เป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดี จริงๆ อย่างที่ดิฉันนึกเดาเอาในใจ คุณพ่อนี้ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะคุณพ่อ ? ( พระยาภักดีพยักหน้า.) เมื่อนายล้ำต้องการแสดงตนว่าเป็นพ่อของแม่ลออ พระยาภักดีได้ขัดขวางทุกทางเพราะเกรงว่าบุตรสาจะต้องอับอายขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจ เราทราบจากการบรรยายฉากในตอนเริ่มเรื่องว่าพระยาภักดีมิได้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย แต่พระยาภักดีก็ยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อ “ปิดปาก” นายล้ำ และเมื่อเห็นว่าใช้วิธีการนี้ไม่ได้ก็ยอมแม้กระทั่งจะต่อสู้ใช้กำลังกับนายล้ำ พฤติกรรมตอนนี้ยืนยันความ “เห็นแก่ลูก” ของพระยาภักดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าบิดาบุญธรรมก็รักบุตรได้มากเท่าหรืออาจจะมากกว่าบิดาบังเกิดเกล้าได้ แม้บทละครพดเรื่องเห็นแก่ลูกจะมีขนาดสั้น ไม่มีปมที่ซับซ้อนในโครงเรื่อง แต่มีความประณีตอย่างยิ่งในการวางเนื้อเรื่องให้ชวนติดตาม ตัวละครมีน้อยตัว แต่ทุกตัวมีลักษณะเด่นและมีความสำคัญต่อการดำเนินเรื่องและการเสนอแนวคิดสำคัญ ในการกำหนดบทสนทนาของตัวละคร พระบาทสมเด็กพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำพูดที่สั้น กะทัดรัด แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครทุกตัวเอาไว้อย่างกระชับรัดกุม เปิดโอกาสให้ตัวละครเอกทั้งสองได้แสดงคามรักของพ่อซึ่ง “เห็นแก่ลูก” ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกันแต่ได้สร้างความซาบซึ้งจับใจผู้อ่านได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ทำให้บทละครเรื่องนี้เป็นที่ประทับใจและอยู่ในความนิยมมานาน

2 ความคิดเห็น: