วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทละครพูด"เห็นแก่ลูก"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถยอดเยี่ยมทางอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้มากกว่า ๑,๒๐๐ เรื่อง ทั้งร้อยแก้และร้อยกรอง ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี งานประพันธ์ประเภทหนึ่งที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากคือบทละครพูด มีทั้งที่ทรงผูกเค้าโครงเรื่องเองและที่แปลหรือแปลงมาจากภาษาต่างประเทศ บทละครพูด ละครพูด คือละครที่แสดงโดยให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง ไม่มีดนตรี การรำ หรือการับร้องประสม ละครประเภทนี้ตรงกับการแสดงที่เรียกว่า play ของตะวันตก เริ่มมีในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับคามนิยมแพร่หลายและเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดการละครเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษก็ได้เสด็จทอดพระเนตรละครและทรงแสดงละครเป็นประจำ เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยได้ทรงตั้งคณะละครขึ้น ทรงอำนวยการฝึกซ้อม และบางครั้งทรงร่วมแสดงด้วย บทละครพระราชนิพนธ์ซึ่งมีเป็นจำนวนมากนั้น นอกจากจะมุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้งยังแฝงแง่คิดและคติธรรมไว้เสมอ ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ละครเป็นเครื่องอบรมจิตใจของประชาชนและสื่อสาระที่พระองค์มีพระราชประสงค์โดยทรงจัดการแสดงละครขึ้นเป็นประจำเพื่อระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการกุศลด้านต่าง ๆ และเพื่อสร้างสาธารณสมบัติ บทละครพูดนอกจากจะแต่งขึ้นเพื่อใช้แสดงแล้ว ยังใช้อ่านได้ด้วย การอ่านบทละครพูดให้เข้าใจลึกซึ้งนั้น ต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณา เนื่องจากในบทละครพูดไม่มีการบรรยายเหตุการณ์ สถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครไว้เหมือนอย่างในบทละครรำ ผู้อ่านจะต้องพิจารณาด้วยวิจารณญาณและจินตนาการว่า ที่ตัวละครแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น พูดเช่นนั้น เขาคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร บทสนทนาของตัวละครจึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะไขไปสูความหมายของเรื่อง บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีความยาวเพียงองค์เดียว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระนามแฝงในการพระราชนิพนธ์ว่า พระขรรค์เพชร บทละครพูดเรื่องนี้พระองค์ทรงคิดเค้าโครงเรื่องขึ้นเอง มิได้ทรงแปลหรือดัดแปลงจากบทละครต่างประเทศ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ค้นคว้าเกี่ยวกับงานละครของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างละเอียด ได้สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกอาจเป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยมิใช่เป็นการแปล แม้บทละครเรื่องนี้จะแต่งขึ้นมากว่า ๙๐ ปีแล้ว ความนิยมบางอย่างในสมัยนั้นอาจหมดไป วิธีใช้คำพูดตลอดจนกิริยามารยาทบางอย่างอาจเปลี่ยนไป ถึงกระนั้นก็ดีคามรักอันยิ่งใหญ่ของบุพการีที่มีต่อบุตรของตนอันเป็นคุณธรรมที่สำคัญที่แสดงไว้ในเรื่องรวมไปถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและความรักในศักดิ์ศรี ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกผู้ทุกนามทุกชาติทุกภาษาและทุกยุคทุกสมัย บทละครพูดเรื่องนี้นอกจากจะได้รับคัดเลือกให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ศึกษามาเป็นเวลายาวนานแล้ว ยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศได้แก่ ภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น นอร์เวย์ ฝรั่งเศส มาเลย์ รัสเซีย สเปน สิงหล อังกฤษ อาหรับ อินโดนีเซีย และฮินดี เพื่อเป็นการเฉลิดพระเกียรติในงานพระราชพิธีฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็กพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย ความ “เห็นแก่ลูก” ของนายล้ำ เมื่อเริ่มเรื่อง ผู้อ่านได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับนาล้ำเพียงว่าเป็นผู้ดื่มเหล้าจัด และแลดูแกกว่าวัย บทสนทนาระห่างนายล้ำและอ้ายคำ บ่าองระยาภักดี เริ่มเผยให้เราเห็นว่า นอกจากเครื่องแต่งกายที่ดูเก่าปอนแล้ว นายล้ำคงมีท่าทางไม่น่าไว้ใจ ทำให้อ้ายคำยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วย แม้นายล้ำจะกล่าวว่าตนก็มาจากตระกูลดีเช่นกันก็ตาม เมื่อพระยาภักดีกลับมาถึงบ้าน นายล้ำได้เล่าอดีตของตนให้ฟัง นอจากผู้อ่านจะได้ทราบว่านายล้ำไปต้องโทษจำคุกถึง ๑๐ ปี เมื่อพ้นโทษแล้วก็คงประพฤติหากินทางทุจริตเช่นเดิม เรายังได้ทราบว่านายล้ำเคยเป็น “ผู้ดี” จริง และเคยรับราชการจนมีราชทินนามว่า “ทิพเดชะ” เป็นที่น่าสังเกตว่าาแม้นายล้ำและพระยาภักดีจะเคยเป็นเพื่อนรักกันมาก่อน แต่พระยาภักดีก็มิได้แสดงอาการดีอกดีใจเมื่อได้มาพบกันอีกหลังจากไม่พบกันมานานถึง ๑๕ ปี และเมื่อนายล้ำแสดงความประสงค์อยากพบแม่ลออ พระยาภักดีก็ได้แสดงออกอย่างเปิดเผย่าไม่ต้องการให้พบ ด้ยเหตุผลที่ปรากฏในคำถามของพระยาภักดีว่า “ตั้งแต่แกพ้นโทษมาแล้ว แกได้พยายามที่จะสำแดงให้ปรากฏอย่างไรบ้าง ว่าแกน่ะตั้งใจจะประพฤติแต่ในทางที่ดีที่ควร” ความขัดแย้งระหว่างนายล้ำกับพระยาภักดีรุนแรงมากขึ้นเมื่อนายล้ำบอกความประสงค์ว่าต้องการมาอยู่กับแม่ลออบุตรสาวหลังจากได้ทราบว่าแม่ลออจะแต่งงานกับบุตรพระยารณชิตซึ่งเป็นคนมั่งมี นายล้ำเห็นว่า “เป็นหน้าทีจะต้องมาอยู่ใกล้ชิดลูกสาวผมเพื่อจะได้ช่วยเหลือเจือจานในธุระต่าง ๆ ตามเวลาอันสมควร ” และ “เมื่อยังอยู่ในบ้านคุณ ผมก็วางใจได้ นี้จะแยกไปมีเหย้ามีเรือนของตัวเองแล้ว ผมจะต้องเข้ามาอยู่กับเขาเพื่อจะได้เป็นกำลังแก่เขาบ้าง” คำอธิบายของนายล้ำดูเหมือนจะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่านายล้ำเป็นผู้ที่ “เห็นแก่ลูก” อย่างยิ่ง แต่ไม่ช้า นายล้ำก็ยอมรับกับพระยาภักดีอย่างตรงไปตรงมาว่า “ผมนะมันหมดทางหากินแล้ ไม่และเห็นทางอื่นนอกจากที่จะอาศัยลูกสาให้เขาเลี้ยง ” ความ “เห็นแก่ตัว” ของนายล้ำได้เปลี่ยนไปเป็นความ “เห็นแก่ลูก” เมื่อนายล้ำได้พบกับแม่ลออและได้รับรู้ความรู้สึกของแม่ลออที่มีต่อตนในฐานะผู้ให้กำเนิด การที่แม่ลออแสดงความรักและภาคภูมิใจในตัวบิดาแท้ ๆ แม้จะไม่เคยได้พบตัวจริง ทำให้นายล้ำผู้ฝักใฝ่ในทางทุจริตและมีความเห็นแกตัวอย่างยิ่ง เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและยอมพ่ายแพ้แก่ความรักของแม่ลออ ทั้งยังมอบความรักของพ่อตอบแทนกลับไปโดยการไม่เปิดเผยความจริงว่าตนคือใคร ยอมมีชีวิตที่ลำบากต่อไปด้วยความ “เห็นแกลูก” อย่างแท้จริง เพื่อให้แม่ลออได้มีชีวิตที่สุขสบาย ไม่เป็นที่รังเกียจในสังคม ความ “เห็นแก่ลูก” ของพระยาภักดีนฤนาถ บทสนทนาระหว่างนายล้ำกับพระยาภักดีบอกให้เราทราบว่า บุคคลทั้งสองมิเพียงเคยเป็นเพื่อนกันเท่านั้น แต่ยังเคยรักผู้หญิงคนเดียวกันอีกด้วย หญิงนั้นคือแม่นวล มารดาของแม่ลออ ชีวิตแต่งงานอันปราศจากความสุขทำให้แม่นวลตัดสินใจฝากลูกสาไว้กับพระยาภักดีเมื่อตนใกล้จะสิ้นชิวิต ความผูกพันระหว่างพระยาภักดีกับแม่นวลคงจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระยาภักดีรักแม่ลออเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ และได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความตั้งใจ นอกจากจะเลี้ยงดูอบรมแม่ลอออย่างดีตามแบบบุตรผู้มีตระกูล พระยาภักดียังปลูกฝังให้ลูกมีความรักและภาคภูมิในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอีกด้วย ก็คุณพ่อดิฉันที่ตายล่ะคะ รู้จักไหม ?(นายล้ำพยักหน้า.) ถ้าอย่างงั้นคุณก็ดีก่าดิฉัน ดิฉันไม่รู้จักเลย, เคยเห็นแต่รูปที่ ในห้องคุณแม่ รูปร่างสูง ๆ หน้าอกกว้าง ดิฉันช่างชอบหน้า เสียจริงๆ หน้าตาเป็นคนซื่อ ใจคอกว้างขวาง, ถ้าใครบอกดิฉันว่า เป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดี จริงๆ อย่างที่ดิฉันนึกเดาเอาในใจ คุณพ่อนี้ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะคุณพ่อ ? ( พระยาภักดีพยักหน้า.) เมื่อนายล้ำต้องการแสดงตนว่าเป็นพ่อของแม่ลออ พระยาภักดีได้ขัดขวางทุกทางเพราะเกรงว่าบุตรสาจะต้องอับอายขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจ เราทราบจากการบรรยายฉากในตอนเริ่มเรื่องว่าพระยาภักดีมิได้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย แต่พระยาภักดีก็ยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อ “ปิดปาก” นายล้ำ และเมื่อเห็นว่าใช้วิธีการนี้ไม่ได้ก็ยอมแม้กระทั่งจะต่อสู้ใช้กำลังกับนายล้ำ พฤติกรรมตอนนี้ยืนยันความ “เห็นแก่ลูก” ของพระยาภักดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าบิดาบุญธรรมก็รักบุตรได้มากเท่าหรืออาจจะมากกว่าบิดาบังเกิดเกล้าได้ แม้บทละครพดเรื่องเห็นแก่ลูกจะมีขนาดสั้น ไม่มีปมที่ซับซ้อนในโครงเรื่อง แต่มีความประณีตอย่างยิ่งในการวางเนื้อเรื่องให้ชวนติดตาม ตัวละครมีน้อยตัว แต่ทุกตัวมีลักษณะเด่นและมีความสำคัญต่อการดำเนินเรื่องและการเสนอแนวคิดสำคัญ ในการกำหนดบทสนทนาของตัวละคร พระบาทสมเด็กพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำพูดที่สั้น กะทัดรัด แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครทุกตัวเอาไว้อย่างกระชับรัดกุม เปิดโอกาสให้ตัวละครเอกทั้งสองได้แสดงคามรักของพ่อซึ่ง “เห็นแก่ลูก” ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกันแต่ได้สร้างความซาบซึ้งจับใจผู้อ่านได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ทำให้บทละครเรื่องนี้เป็นที่ประทับใจและอยู่ในความนิยมมานาน

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

ไฟล์ VDO ได้มากจากเวบ youtube.com ครับ

เนื้อเรื่องย่อ เรื่อง สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

              ใน ปลายสมัยราชวงศ์อื่น รัชการพระเจ้าเลนเต้ ได้มีกลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองที่ทำให้ประชาชนเดือนร้อนไปทั่ว ชาวเมืองสามคนได้แก่ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน ได้ปราบโจรโพกผ้าเหลืองได้ พระเจ้าแผ่นดินจึงปูนบำเหน็จให้เล่าปี่ไปครองเมืองๆ หนึ่ง โดยมีกวนอูและเตียวหุยไปเป็นทหารเอกและขุนพลหนุ่มชื่อโจโฉก็ปลาบโจรโพกผ้า เหลืองได้แตกพ่ายเช่นกัน ต่อมาเมื่อพระเจ้าเหียนเต้ได้ครองราชย์ได้ตั้งตั๋งโต๊ะคนอธรรมเป็นอุปราช โดยมีลิโป้เป็นทหารเอก ชาวเมืองเดือดร้อนไปทั้วจากความอธรรมของตั๋งโต๊ะ มีผู้ทำอุบายให้ลิโปผิดใจกับกับตั๋งโต๊ะ และฆ่าตั๋งโต๊ะตาย โจโฉจึงเข้ามากุมอำนาจยอกองทัพไปปราบหัวเมืองต่างๆ มีอำนาจมากต่อมาภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองกุนจิ๋วและสู้รบกับเล่าปี่อยู่เสมอ เล่าปี่พ่ายแพ้โจโฉเสมอแต่เมื่อได้ขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งขงเบ้งแนะนำให้เป็นพันธมิตรกับซุนกวนผู้มีอำนาจในดินแดนแถบลุ่มน้ำแยงซี เกียงทางใต้และร่วมมือกับจิวยี่ขุนพลของซุนกวนตีทัพโจโฉแตกพ่ายแต่ภายหลัง เล่าปี่กับฝ่ายซุนกวนกลายเป็นปฏิปักษ์กัน ทำให้สู้รบกัน เมื่อพระเจ้าเหียนเต้สิ้นพระชนม์แผ่นดินจีนจึงแบบออกเป็นสามก๊กดังนี้ ๑. จ๊กก๊ก ของเล่าปี่ ๒. วุ่ยก๊ก ของทายาทโจโฉ ๓. ง่อก๊ก ของซุนกวน ทั้งสามก๊กทำส่งครามกันเป็นเวลาถึง ๖๐ ปี จึงรวมอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกัน เรื่อง สามก๊ก ตอน กวนอู่ไปรับราชกาลกับโจโฉ เป็นตอนที่ ๒๒ มีเนื้อเรื่องโดยสังเขปดังนี้
                ใน สมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้โจโฉตั้งตัวเป็นมหาอุปราชสำเร็จราชการแผ่นดินและคิด กำจัดเล่าปี่ซึ่งขณะนั้นครองเมืองซีจิ๋วอยู่ เล่าปี่หนีไปพำนักลี้ภัยอยู่ที่เมืองกิจิ๋ว ฝ่ายโจโฉเมื่อเข้ายึดเมืองซีจิ๋วของเล่าปี่ได้ก็ยกไปตีเมืองแห่ฝือของกวนอู โจโฉส่งทหารไปล่อให้กวนอูไล่ตามออกมานอกเมืองและล้อมจับตัวกวนอูไว้ เตียวเลี้ยว (ทหารฝ่ายโจโฉ) ซึ่งกวนอูเคยช่วยชีวิตไว้เป็นผู้เข้าไปเกลี้ยกล่อมกวนอูให้ไปอยู่กับโจโฉ กวนอูยอมจำนนแต่ขอเงื่อนไขเป็นสัญญา ๓ ข้อ จากโจโฉ คือ ๑. ขอให้ได้เป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ ๒. ขอให้ได้ปรนนิบัติและคุ้มครองพี่สะใภ้ทั้งสอง ๓. ขอไปหาเล่าปี่ทันทีเมื่อรู้ว่าอยู่ที่ใด แต่แรกโจโฉไม่ยอมรับเงื่อนไขข้อสุดท้าย เตียวเลี้ยวจึงยกนิทานเรื่องอิเยียงผู้กตัญญูมาเล่า เพื่อชี้ให้เห็นว่ากวนอูนั้นเป็นคนกตัญญูมาก หากโจโฉเลี้ยงดูอย่างดีอาจผูกใจกวนอูไว้ได้ โจโฉจึงยอมรับเงื่อนไขของกวนอู โจโฉพากวนอูไปถวายตัวเป็นทหารเหี้ยนเต้ และให้กวนอูกับพี่สะใภ้ทั้งสองอยู่อย่างสุขสบาย แต่กวนอูก็มิได้มีน้ำใจตอบสนองโจโฉ กลับแสดงว่ายังจงรักภัคดีต่อเล่าปี่อย่างแนบแน่น โจโฉคิดน้อยใจแต่ก็เชื่อว่ากวนอูเป็นคนกตัญญูคงจะไม่จากไปจนกว่าจะได้ตอบแทน บุญคุณก่อน   
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
                การ ใช้ภาษา การเล่าเรื่องใช้บรรยายโวหารที่ประโยคไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาไม่ยากแม้ว่าจะเป็นภาโบราณ สามารถเข้าใจได้ว่า ใครทำ อะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร แม้ว่าชื่อตัวละครและสถานที่จะมาจากภาษาจีนแต่ชื่อเหล่านั้นสะกดตรงตัว และมีวรรณยุกต์กำกับชัดเจนทำให้อ่านง่าย ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ว่า ตัวละครเป็นใครและมีบทบาทในเรื่องอย่างไรด้วยการพิจารณาจากบริบทประกอบ มีสำนวนเปรียบเทียบที่คมคาย บทสนทนาของตัวละครแสดงถึงวาทศิลป์ในการเจรจาความ มีการใช้ภาษาที่โน้มน้าวใจที่ดี

ลักษณะนิสัยตัวละคร
1. โจโฉ: บุรุษผู้ยอมทรยศคนทั้งโลก แต่ไม่ยอมให้โลกทรยศตน ตำแหน่งสูงสุดคือ มหาอุปราช เป็นผู้กุมอำนาจทั้งปวง อยู่เหนือฮ่องเต้ เดิมทำราชการอยู่ภายในราชสำนัก คนทั้งปวงยำเกรง ถูกแต่งตั้งให้ไปสกัดการโจมตีของขบถโจรโพกผ้าเหลือง สุดท้ายแยกตัวหนีออกมาหลังจาก ลอบฆ่า ตั๋งโต๊ะ ไม่สำเร็จ รวบรวมเจ้าเมืองต่างๆ เข้าโจมตีตั๋งโต๊ะ แต่ไม่สำเร็จ จึงแยกตัวออกมา ต่างหาก สะสมกำลังพลและแสนยานุภาพ ครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนถูกเชิญมาเป็น มหาอุปราช ได้ใช้ความสามารถ การรู้จักใช้คน และเล่ห์เหลี่ยมกลยุทธ์ ที่เป็นที่เลื่องลือ จนสามารถครอบครองส่วนของแผ่นดินจีนไว้มากที่สุด ที่ได้ชื่อว่า วุยก๊ก
2.
เล่าปี่: ผู้ อ้างว่าสืบเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น เดิมเป็นคนยากจน ทอเสื่อขาย ได้ร่วมสาบานเป็นพี่น้อง กับ กวนอู เตียวหุย ปราบปรามขบถโจรโพกผ้าเหลือง นิสัยโอบอ้อมอารี เป็นที่รักใคร่แก่คนทั่วไป ได้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋ว ภายหลังต้องระหกระเหเร่ร่อนไปอาศัยเจ้าเมืองต่างๆอยู่ จนได้ขงเบ้งเป็น ที่ปรึกษา จึงได้ฟื้นตัวและสามารถครอบครองดินแดนเสฉวนได้ในชื่อว่า จ๊กก๊ก
3. ซุนกวน: ผู้เป็นบุตรของซุนเกี๋ยน และน้องของซุนเซ็ก ครอบครองดินแดนฝั่งกังตั๋ง อายุน้อยกว่า โจโฉ กับ เล่าปี่มาก อาศัยความรุ่งเรืองของการค้าขายติดแม่น้ำ สร้างความแข็งแกร่ง ให้กับก๊กตัวเอง ได้ใช้ชื่อว่า ง่อก๊ก
4. กวนอู: น้อง ร่วมสาบานของเล่าปี่ หลังจากตายไปได้ถูกยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ หน้าแดงหน้าแดง จักษุยาว หนวดเครางาม มีง้าวคู่กาย ภายหลังอยู่ร่วมกับ กวนเป๋ง ผู้บุตรบุญธรรม กับจิวฉอง เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋ว ถูกแผนกลยุทธ์ของลกซุน และลิบองฆ่าตาย
5. เตียวหุย: น้อง ร่วมสาบานของ เล่าปี่และเตียวหุย นิสัยวู่วามอารมณ์ร้อน ชอบเหล้าสุรา ศรีษะเหมือนเสือ จักษุโตกลม เสียงดัง มีกำลังมาก ติดตามเล่าปี่มาตลอด ตายเพราะถูกลอบฆ่า และนิสัยวู่วามของตนเอง
6. ขงเบ้ง: ผู้ ถูกยกย่องว่า หยั่งรู้ดินฟ้า มหาสมุทร จากคำแนะนำของชีซีทำให้เล่าปี่ต้องมาเชิญด้วยตัวเอง ถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยง ของขันที ฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง มีคู่ปรับคือ สุมาอี้
7. สุมาอี้: เริ่ม จากรับข้าราชการเล็กๆ ในก๊กโจโฉ เริ่มไว้วางใจในสมัย พระเจ้าโจยอย ออกสู้รบ กับขงเบ้งหลายครั้ง อย่างคู่คี่สูสี เป็นคู่ปรับตัวฉกาจของขงเบ้ง มีบุตรชื่อสุมาสู สุมาเจียว ได้ถอดพระเจ้าโจฮองออกจากราชสมบัติ สะสมอำนาจเหนือตระกูลโจ ภายหลัง สุมาเอี๋ยน ผู้บุตรสุมาเจียว ถอดพระเจ้าโจฮวนออก แต่งตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ รวบรวมแผ่นดินจีน เป็นหนึ่งเดียว สถาปนาราชวงศ์จิ้น
8. จูล่ง: วีรบุรุษ ผู้เก่งกาจติดตามเล่าปี่ และขงเบ้ง เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือที่เล่าปี่แต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วย จูล่ง  กวนอู  เตียวหุย  ม้าเฉียว  ฮองตง สร้างวีรกรรมสำคัญคือ จูล่งฝ่าทัพรับ อาเต๊า โดยที่ตัวคนเดียวฝ่าช่วยชีวิตท่ามกลางทหารและองครักษ์มากมายของโจโฉที่ยกทัพ ลงใต้ หวังครอบครองแผ่นดิน ฝ่าออกมาคืนแก่เล่าปี่อย่างแสนสาหัส ฆ่าทหารเอกและทหารเลว ของโจโฉอย่างดาษดื่น เป็นบุคคลที่ตายดีที่สุดในสามก๊ก เพราะตายอย่างสงบ สุภาพเรียบร้อย  นิสัยซื่อสัตย์  กล้าหาญในหน้าที่
9. ตั๋งโต๊ะ: ทรราช ที่อ้างตัวมาชุบเลี้ยงพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ไม่อยู่ในจริยธรรม ฆ่าคนอย่างสนุกสนาน แผ่นดินเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า มีทหารเอกคู่ใจ คือ ลิโป้ ไม่มีใครกล้าต่อกรด้วย ภายหลังตายพราะผู้หญิง โดยเป็นแผนของอองอุ้นใช้กลยุทธ์ที่เลื่องลือ โดยมีแม่นางเตียวเสี้ยน หว่านล้อมเสน่ห์ ให้พ่อลูก ตั๋งโต๊ะ กับลิโป้ ผิดใจกัน
10. ลิโป้: บุตร บุญธรรมของ ตั๋งโต๊ะ ถูกชุบเลี้ยงมาเป็นองครักษ์ข้างกาย มีฝีมือเป็นหนึ่งในแผ่นดินจีน ยอมฆ่าพ่อบุญธรรมคนเดิมเต๊งหงวน เพราะเห็นแก่ลาภยศ มัวเมาลุ่มหลงอิสตรีได้ขึ้นชื่อเป็น ลูกทรพี 3 พ่อถูกกลยุทธ์แม่นางเตียวเสี้ยน ลุ่มหลงจนฆ่าตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลบหนี ไปพึ่งใบบุญเล่าปี่ แล้วทรยศซ้ำ ภายหลังถูกโจโฉไล่ตามตี จนมุมที่เมืองแห้แฝือ ถูกฆ่า ประหารชีวิต ตัดศรีษะไปเสียบประจาน จบยุคของผู้มีฝีมือเก่งกาจที่สุดในแผ่นดิน
11. จิวยี่: ผู้ ได้รับฉายาว่าเป็นผู้ถ่มนำลายรดฟ้า ได้อยู่รับใช้ในสมัย ซุนเซ็ก และซุนกวน เป็นเพื่อนสนิทของซุนเซ็ก ได้ถูกชวนมาร่วมบริหารบ้านเมือง ครั้นซุนเซ็กตาย จึงอยู่มาสมัยซุนกวน วางแผนออกรบ ร่วมกับขงเบ้ งปราบปรามต่อต้านโจโฉที่ยกทัพมาทำสงครามกับกังตั๋ง ได้ขึ้นชื่อว่าศึกเซ็กเพ็ก สงครามไฟประวัติศาสตร์จารึก ที่เผาผลาญทหารโจโฉร่วมล้านคน ภายหลังถูกขงเบ้งหักหลัง แย่งชิงเมืองทั้งหลายที่รบได้ไป จึงคิดแค้นใจและถูกพิษธนูกลุ้ม ขาดใจตาย ก่อนตายได้ตะโกน ว่า ฟ้าให้ยี่มาเกิด ไฉนจึงให้เหลียงมาเกิดด้วย

http://writer.dek-d.com/pingld/writer/viewlongc.php?id=587743&chapter=2 

กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ (สำหรับ ม.6)


กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ (สำหรับ ม.6)
  credit : ไทยสามก๊ก(KenForever)---- >http://www.thaisamkok.com



(เตียวเลี้ยวกล่อมกวนอูให้ยอมแพ้ต่อโจโฉ)

ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตอนนี้

1. กวนอู



ประวัติโดยย่อ - กวนอูเป็นน้องร่วมสาบานของเล่าปี่มีนิสัยห้าวหาญ และมีความซื่อสัตย์ ครั้งสงครามชีจิ๋ว เล่าปี่พ่ายแพ้ต่อกองทัพโจโฉยับเยิน กวนอูซึ่งรักษาเมืองแห้ฝืออยู่ถูกกองทัพโจโฉโจมตีอย่างหนัก กวนอูยกทัพออกไปรบนอกเมืองปรากฏว่าถูกกองทัพโจโฉล้อมไว้ทุกทิศทาง ด้วยความจำเป็นที่ต้องดูแลพี่สะใภ้และตามหาเล่าปี่-เตียวหุย พี่น้องร่วมสาบานทำให้ต้องยอมแพ้ในที่สุด

2. เตียวเลี้ยว



ประวัติโดยย่อ - เตียวเลี้ยวเดิมเป็นทหารเอกของยอดขุนศึกลิโป้ มีจิตใจห้าวหาญรักความยุติธรรม หลังจากลิโป้พ่ายแพ้แก่โจโฉ เตียวเลี้ยวก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพของโจโฉ ในครั้งสงครามชีจิ๋ว เตียวเลี้ยวขออาสาไปเกลี้ยกล่อมกวนอูให้มายอมแพ้ (เนื่องจากเตียวเลี้ยวต้องการทดแทนบุญคุณของกวนอู ไม่อยากให้กวนอูต้องมาตายเปล่า เพราะว่า คนที่ช่วยเตียวเลี้ยวไว้เมื่อคราวที่เตียวเลี้ยวโดนโจโฉจับ ก็คือกวนอู ซึ่งได้บอกแก่โจโฉให้ไว้ชีวิตเตียวเลี้ยวในคราวนั้น)

3. โจโฉ



ประวัติโดยย่อ - ผู้สำเร็จราชการของราชวงศ์ฮั่น(ตำแหน่งในตอนนั้น)เป็นคนมีความสามารถยอด เยี่ยมทุกด้าน รักคนมีฝีมือ แต่มีข้อเสียในเรื่องความขี้ระแวง ในครั้งสงครามชีจิ๋ว โจโฉได้สั่งให้กองทัพเข้าตีชีจิ๋วเป็น 5 กองทัพ ทำให้เล่าปี่ต้องพ่ายแพ้ย่อยยับ หลังจากที่เล่าปี่พ่ายแพ้และโจโฉเข้ายึดเมืองแห้ฝือได้แล้ว มีความคิดอยากให้กวนอูเข้ามารับราชการด้วย จึงได้ส่งเตียวเลี้ยวไปเกลี้ยกล่อม หลังจากกวนอูเข้ามายอมแพ้แล้ว โจโฉก็ได้จัดงานเลี้ยงกวนอูทุกวันไม่ได้ขาด รวมไปถึงมอบม้า เซ็กเทา ม้าชั้นเลิศให้กวนอูอีกด้วย

อาวุธที่เกี่ยวข้องกับตัวละคร

1. ง้าวมังกรเขียว
ลักษณะ : เป็นง้าวใหญ่ทำด้วยเหล็กพิเศษ มีลวดลายมังกรบนยอดง้าว มีน้ำหนัก 82 ชั่ง


2. ม้าเซ็กเทา
ลักษณะ : เป็นม้าขนสีแดงราวถ่างเพลิง เซ็กเธาว์แปลว่ากระต่ายแดง ตัวยาวเกือบสามเมตรครึ่ง วิ่งได้วันละพันลี้ หรือเท่ากับหนึ่งหมื่นสองพันเส้น ( ยี่สิบวาเป็นหนึ่งเส้น วาหนึ่งเท่ากับสองเมตร หรือเส้นหนึ่งเท่ากับสี่สิบเมตร 12,000 x 40 = 480,000 เมตร หรือ 480 กิโลเมตร เสียงของม้าเซ็กเธาว์ดังกึกก้องกัมปมาทสะท้านฟ้าสะท้านดิน


ข้อมูลเมือง

1. ชีจิ๋ว(เมืองของเล่าปี่)

ในสามก๊กเรียกว่าเป็น ชิวจิ๋วอีกชื่อหนึ่ง เป็นแคว้น 1 ใน 9 สมัยอู๊เต้ ( ก่อน ค.ศ. 2205 – ก่อน ค.ศ. 2197 ) มีอาณาบริเวณครอบคลุมบางส่วนของมณฑลเจียงซู ซานตุง และอันฮุย อำเภอถางเฉิง มณฑลซานตุงในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของแคว้นน


2. ฮูโต๋(เมืองของโจโฉ)

ราชธานี โจโฉเป็นผู้ย้ายราชธานีจากเมืองลกเอี๋ยงไปตั้งที่เมืองฮูโต๋ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างประมาณ 100 ไมล์ ความในสามก๊กว่า “โจโฉได้ฟังดังนั้น ก็มีความยินดี ครั้งเวลารุ่งเช้าก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วทูลว่าเมืองลกเอี๋ยงนี้มีอันตราย จลาจลร้างโรยมาแต่ครั้งตั๋งโต๊ะแล้ว บัดนี้พระองค์ได้เสด็จกลับมาอยู่ บ้านเมืองก็มิได้ปรกติ ขัดสนข้าวปลาอาหาร ถ้าจะให้ตกแต่งบ้างเมืองแลค่ายคูประตูหอรบขึ้นเล่า ก็จะลำบากแก่ไพร่พลทั้งปวกนัก แลเมืองฮูโต๋นั้นประกอบด้วยค่ายคูประตูหอรบ อาณาประชาราษฎร์ก็มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารก็บริบูรณ์ ด้วยใกล้เมืองโลเอี๋ยง ถึงมาตรว่าจะมีสงครามก็จะได้ป้องกันสะดวก ข้าพเจ้าขอเชิญเสด็จพระองค์ไปอยู่เมืองฮูโต๋ เห็นขุนนางและราษฎรทั้งปวงจะมีความสุข” เมื่อโจผีถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากราชสมบัติ และตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ได้ย้ายราชธานีไปลกเอี๋ยงชั่วคราว แล้วกลับตั้งฮูโต๋เป็นราชธานีใหม่อีกครั้งหนึ่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นสวี่ชาง ปัจจุบันคืออำเภอสวี่ชาง ในมณฑลเหอหนาน เป็นศูนย์กลางการผลิตใบยาสูบที่สำคัญที่สุดของประเทศจีน ตัวเมืองเดิมอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอนี้


3. แห้ฝือ(เมืองที่กวนอูควบคุม)

เป็นเมืองอยู่ในแคว้นชีจิ๋ว ของเล่าปี่ อยู่ทางทิศตะวันตกของชีจิ๋ว เดิมลิโป้ก็เคยพ่ายแพ้และถูกจับตัวที่นี่


4. เซียงจิ๋ว (เมืองของอ้วนเสี้ยว)

เซียงจิ๋ว เป็นชื่อมณฑล ที่อยู่ภายใต้อำนาจของอ้วนเสี้ยวอยู่ทางตะวันตกของกิจิ๋ว

5. กิจิ๋ว (เมืองของอ้วนเสี้ยว)

กิจิ๋ว เป็น แคว้น 1 ใน 9 สมัยอู๊เต้ ( ก่อน ค.ศ. 2205–ก่อน ค.ศ. 2197 ) มีอานาบริเวณครอบคลุมบางส่วนของมณฑลเหอเป่ย ซานสี เหอหนาน ตอนเหนือของแม่น้ำเหลือง ตอนตะวันตกของมณฑลเหลียงหนิง และเหลียวเหอ ปัจจุบันมีอำเภอจี้ ในมณฑลเหอเป่ย เป็นอนุสรณ์ของแคว้นโบราณแห่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งเมืองหลวงเดิม ความตอนหนึ่งในสามก๊กว่า “พระเจ้าเลนเต้จึงเลื่อนที่ให้ฮองฮูสงเป็นที่ติจงกุ๋น แปลว่า ทหารสำหรับรักษาพระองค์ ให้กินเมืองบุยจิวด้วย” คำว่า “บุยจิว” ในต้นฉบับภาษาจีน เขียนว่า จี้โจว คือแคว้นกิจิ๋วนี้ ถัดจากฮองฮูสง ฮันฮกเป็นผู้ครองแคว้น ต่อมาอ้วนเสี้ยวแย่งแคว้นกิจิ๋วได้จากฮันฮก ภายหลังโจโฉยกไปปราบอ้วนเสียวยึดแคว้นได้ทั้งหมด